วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นางจินตะหราวาตี

 

                  จินตะหราเป็นพระธิดาท้าวหมันหยากับนางจินดาส่าหรีประไหมสุหรี เกิดในปีเดียวกับอิเหนาแต่อ่อนเดือนกว่า จึงมีฐานะเป็นน้อง และด้วยความงามของนางที่ถูกบรรยายไว้ว่า
"งามงอนอ่อนระทวยนวยแน่ง ดำแดงนวลเนื้อสองสี
ผ่องพักตร์ผิวพรรณดังจันทรี นางในธานีไม่เทียมทัน"

                   ทำ ให้อิเหนาหลงใหลจนไม่อยากกลับบ้าน เพียรพยายามใกล้ชิดกับจินตะหรา อิเหนามีคู่หมั้นชื่อนางบุษบา ขณะที่จะอภิเษกสมรส อิเหนาได้หนีออกไปประพาสป่า และได้ปลอมตัวเป็นโจรชื่อ ปันหยี เดินทางไหเมืองหมันหยา ระหว่างทางได้พบเจ้าเมืองรายทางได้ถวายพระธิดา คือ นางสการะวาตี กับนางมาหยารัศมีให้เป็นข้ารับใช้ อิเหนาได้สู่ขอนางจินตะหรา แต่ท้าวหมันหยาไม่กล้ายกให้ บอกให้อิเหนาไปคุยกับนางจินตะหราเอง อิเหนาไม่ยอมอถิเษกกับบุษบา ท้าวดาหาโกรธจึงรับสั่งว่าใครมาสู่ขอจะยกให้ จรกาได้มาสู่ขอ และได้เกิดศึกชิงนางบุษบา อิเหนาจำใจยกทัพไปช่วย เมื่อพบนางบุษบาก็หลงรัก และไม่กลับไปที่เมืองหมันหยา นางจินตะหรนาน้อยใจมากที่อิเหนาลืมนาง นางได้พบอิเหนาเมื่อท้าวกุเรปันส่งสารมาให้นางไปเข้าพิธีอภิเษกพร้อมบุษบา จินตะหราไม่อยากไปร่วมพิธี แต่ขัดไม่ได้ จึงพานางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีไปด้วย ในพิธีอภิเษก นางบุษบาได้อยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย 
                    ในขณะที่จินตะหราวาตีอยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายขวา ด้วยความเห็นชอบของท้าวดาหา (อาจจะเป็นเพราะว่าท้าวดาหาต้องการแสดงว่ามีพระทัยกว้าง จึงให้พระธิดาของตนอยู่ในตำแหน่งรอง) แต่จินตะหราไม่มีความสุขกับตำแหน่งนั้นเพราะอิเหนาไม่ได้รักนางเหมือนเมื่อ ก่อน ประกอบกับนางเป็นคนถือทิฏฐิไม่ยอมคืนดีด้วย 
                    เมื่ออิเหนามาหาทั้งยังทวงสัญญาทำให้อิเหนาเสื่อมรักนางมากแล้วยิ่งเบื่อจิ นตะหรามากขึ้น ไม่คิดสนใจ แต่ขัดคำสั่งของประไหมสุหรีท้าวดาหาไม่ได้ จึงจำใจไปง้อนาง รักอย่างเดียวไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน โดยเฉพาะความรักที่ถือเอาความงามเป็นแบบบรรทัดฐานอย่างอิเหนา เมื่อเรื่องรู้ถึงท้าวหมันหยากับประไหมสุหรีท้าวหมันหยา ได้เรียกนางจินตะหราไปตักเตือน ทำให้จินตะหรารับสภาพว่านางเสียเปรียบบุษบามาก แล้วขืนยังทำตัวยืนกรานแบบเก่าจะมีสภาพที่ย่ำแย่ จึงยอมคืนดีกับอิเหนา และอ่อนเข้าหาบุษบา

นางสีดา

 

                 นาง สีดา เป็นนางในวรรณคดีจากเรื่อง " รามเกียรติ์ " ในเรื่องรามเกียรติ์นั้นนางสีดานับว่าเป็นบุคคลสำคัญ ที่เป็นจุดเริ่มของเหตุการณ์ที่โยงไปสู่การรบกันระหว่างพระรามกับทศกัณฑ์ ประวัติ ลักษณะนิสัยนางสีดาเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสามีอย่างเป็นเลิศ เช่น ในตอนที่พระรามต้องออกดินป่า นางก็ขอตามเสด็จไปด้วยโดยไปเกรงกลัวต่อความยากลำบากที่จะต้องพบ นางสีดานั้นรักนวลสงวนตัว รักในเกียรติของตนเอง เช่น ในตอนที่หนุมานอาสาจะพานางกลับไปหาพระรามโดยให้นั่งบนมือของหนุมาน นางก็ปฏิเสธทั้งที่มีโอกาสหนี แต่ด้วยเหตุที่ไม่อยากให้ใครมาถูกเนื้อต้องตัวจึงยอมทนทุกข์อยู่เมืองลงกา ต่อ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เช่น ตอนที่นางสีดายอมลุยไฟเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตน นางสีดามีความรู้คุณ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ในตอนที่นางสีดากล่าวขอบคุณพระลักษมณ์ที่ช่วยเหลือนางมาตลอด เมื่อรู้ว่าตนทำผิดก็รู้จักขอโทษ เช่น ในตอนที่รู้ว่าตนทำผิดที่ไม่เชื่อคำของพระรามว่าเป็นกลลวงของยักษาที่แปลง กายเป็นกวางเพื่อหลอกล่อนาง แต่นางก็ไม่ฟัง จึงได้กล่าวขอพระราชทานอภัยโทษจากพระรามที่ได้กระทำผิดไป นางเป็นคนใจแข็ง ไม่ยอมเชื่อใครโดยง่าย ทั้งยังรักศักดิ์ศรีของตน เช่น ในตอนที่พระรามตามง้อขอคืนดี นางก็ปฏิเสธไปเพราะยังมีทิฐิ
             นาง สีดาเป็นสตรีที่มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าในสวรรค์ ผู้ใดพบเห็นก็ต่างพากันตะลึงในความงดงามของนาง เช่น เมื่อพระรามเดินทางมาเมืองมิถิลาเพื่อร่วมพิธียกศร ซึ่งท้าวชนกโปรดให้จัดขึ้นเพื่อหาคู่ให้นางสีดา ครั้นพระรามให้เห็นนางสีดาก็เกิดความรักขึ้นทันที จนลืมองค์ชั่วขณะหรือแม้แต้ท้าวมาลีวราช เมื่อได้เห็นนางสีดาก็ยังชื่นชมในความงามของนาง
นาง สีดาคือพระลักษมีจุติลงมาตามบัญชาของพระอิศวรเพื่ออัญเชิญพระนารายณ์อวตาร นางสีดาเกิดจากนางมณโฑและทศกัณฐ์ พิเภกได้ทำนายดวงชะตานางสีดาว่าจะเกิดมาทำลายเผ่ายักษ์ นางจึงถูกทิ้งให้ลอยน้ำมาในผอบทอง ต่อมาพระฤาษีชนกก็รับเลี้ยงนางสีดาเป็นธิดา และตั้งชื่อนางว่าสีดา ต่อมานางก็ได้อภิเษกกับพระราม และเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นเมื่อนางถูกทศกัณฐ์จับตัวไปเพื่อให้เป็นมเหสี เนื่องจากความงามเป็นเลิศของนาง จึงเกิดการรบกันระหว่างฝ่ายพระรามและทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น

ลำหับ

 

              ลำ หับเป็นเงาะป่า อาศัยอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ลำหับเป็นพี่สาวของไม้ไผ่ ลำหับต้องแต่งงานกับฮเนาทั้งๆๆที่ลำหับรักใคร่ชอบพอกับซมพลา ซึ่งไม้ไผ่ต้องการให้ลำหับแต่งงามกับซมพลามากกว่าฮเนา วันหนึ่งไม้ไผ่ชอนลำหับไปเก็บดอกไม้ ได้มีงูตัวหนึ่งมารัดแขน ลำหับตกใจจนสลบ เมื่อลำหับฟื้นพบว่าซมพลากอดนางอยู่และได้ไถ่ถามด้วยความห่วงใย และได้พูดออกมาว่า"หากเจ้าตายไป พี่นี้จักตายตาม" ลำหับได้ขอบคุณ
              การ แต่งงานของฮเนากับลำหับที่ฝ่ายผู้ใหญ่ของฮเนาได้เตรียมงานไว้ งานแต่งมีขึ้นที่ต้นตะเคียน ขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวเคลื่อนที่สู่ที่จะทำงานวิวาห์ นางลำหับได้ร้อนรนใจ ไม้ไผ่เห็นคนที่บ้านวุ่นวายก็ไปบอกซมพลา ซมพลาฝากไม้ไผ่ไปบอกลำหับว่าจะพาลำหับหนี เมื่อได้ยินดังนั้น ลำหับก็ก็เตรียมตัวเข้างานวิวาห์ การแต่งงานที่สมบูรณ์นั้นต้องเข้าป่า 7 วัน 7 คืน ฮเนาและลำหับเข้าป่า ฮเนาเข้าใกล้ลำหับ ลำหับตกใจร้องกรี๊ด อ้ายแคก็ซุ่มอยู่ก็เอาหินขว้างฮเนา ฮเนาโกรธจึงให้ลำหับรออยู่ แล้วฮเนาก็เดินออกไป ซมพลาได้เข้ามาบอกลำหับว่าจะพาหนี แล้วอุ้มนางไป เมื่อฮเนากลับมาหาไม่เจอ จึงตามหาทั่วทั้งป่า ซมพลาได้พาลำหับมาอยู่ที่ถ้ำลึกกลางป่า มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ซมพลาออกมาหาอาหารแต่ลำหับห้ามไว้เพราะกลัวจะมีอันตราย แต่ซมพลาก็ไม่ฟัง ฮเนากลับไปที่หมู่บ้าน ทุกคนลงความเห็นว่าซมพลาลักพาตัวลำหับไป ฮเนาพร้อมรำแก้ว ปองสองและปองสุดจึงออกตามหา พบซมพลาระหว่างกลับถ้ำ จึงต่อสู้กันเพราะคิดว่าซมพลาลักพาตัวลำหับ รำแก้วเห็นฮเนาออกห่างซมพลาก็เป่าลูกดอกอาบยาพิษไปโดนหน้าผากซมพลา ซมพลาเดินโซซัดโซเซไปหาลำหับและได้สั่งลา ลำหับเสียใจมากคว้ามีดแทงซอกคอตาย ฮเนาเห็นเหตุการณ์ ก็ตัดสินใจตายตามลำหับไป ฝ่ายรำแก้ว ปอสอง ปอสุดได้ทำการขุดหลุมฝังศพให้เป็นอย่างดี

นางสาวิตรี

 

            สาวิตรี นั้นเป็นบุตรของมหาราชอัชวาปตี มหารานีมัลวี ซึ่งมหาราชอัชวาปตีนั้น ไม่มีบุตรชายเลย จึงได้ทำพิธีภาวนาต่อพระแม่มาเตสวาตี (พระแม่กายาตรี) มาถึง 16 ปี จนพระแม่มาประทานพรให้ แต่เนื่องจากในโชคชะตาของมหาราชนั้น ไม่ได้มีพรของบุตรชายเลย พระแม่จึงได้มอบบุตรสาวที่เก่งกาจสามารถ มีสติปัญญา และรูปโฉมอันงดงามให้ เทวฤษีนารัทมุนีได้ตังชื่อให้เด็กน้อยว่า สาวิตรี สาวิตรีเป็นคนที่ฉลาดและงดงามมาก จนไม่มีชายใดกล้ามาสู่ขอ มหาราชอัชวาปตีจึงได้มอบหมายให้นางออกหาสามีเอง

            สาวิตรี ได้เดินทางไปหลายเมืองจนมาถึงเมืองของมหาราชจันทราเซน มาดันราชกุมารของมหาราชนั้นเป็นคนที่เลวร้ายมาก มักมากในกามคุณและไม่ให้เกียรติสตรีเลย เขาได้เข้ามาเพื่อที่หมายจะย่ำยี แต่สาวิตรีได้หลอกมาดันแล้วทำพิธีผูกรัคชิด เพื่อให้มาดันกลายเป็นพี่ชายของตน มาดันได้กล่าวคำอาฆาตกับสาวิตรีไว้ สาวิตรีจึงหมดหวังที่จะหาสามีตามที่พ่อและแม่ได้มอบหมายไว้ นางจึงออกเดินเพื่อหย่อนอารมณ์ พลันก็ได้ยินเสียงตัดไม้ นางจึงแอบเข้าไปดูก็พบกับชายรูปงามกำลังต่อเถียงกับนางยักษ์ที่เข้ามาพัวพัน โดยที่นางยักษ์กล่าวชักชวนให้ชายผู้นั้นมาร่วมหลับนอนด้วย ชายคนนั้นจึงกล่าวกับนางยักษ์ว่า ความอายเป็นคุณสมบัติของสตรี หญิงใดที่ไม่มีคุณสมบัตินี้ก็สมควรที่จะตายไป นางยักษ์จึงกลับไปด้วยความผิดหวัง แต่คำนี้เองที่ทำให้สาวิตรีหลงใหล

              ใน ขณะที่นางซุ่มอยู่ในพุ่มไม้นั้นพลันก็ปรากฏเสือตัวใหญ่ไล่กวดนาง ชายหนุ่มจึงได้เข้ามาช่วยนางโดยที่ขว้างขวานเข้าที่คอเสือ และในขณะเดียวกัน มาดันก็เข้ามาแล้วยิงธนูเข้าที่หลังเสือ เมื่อชายหนุ่มเข้ามาหาสาวิตรี มาดันก็ได้เข้ามากล่าวคำหยาบช้าต่อสาวิตรี ชายหนุ่มจึงได้เข้าต่อสู้เพื่อปกป้องสาวิตรีไว้ สาวิตรีตกหลุมรักชายหนุ่มมากขึ้น มหามนตรีสุเกรชีเข้ามาหลังจากที่เขาได้ไล่มาดันไปแล้ว เขาแนะนำตัวเองว่า ชื่อพระสัตยวานเป็นบุตรของอดีตมหาราชจันทราเซนซึ่งตาบอด มหามนตรีสุเกรชีจึงได้เข้าไปสู่ขอสัตตีอาวารกับอดีตมหาราช แต่มหาราชไม่ยอมรับในเรื่องนี้ สาวิตรีจึงได้เข้าไปกล่าวกับอดีตมหาราชเอง ทำให้ทั้งมหาราชและมเหสียินยอม

               ใน ขณะที่งานมงคลจะเกิดขึ้นนั้น พระนารทพรหมฤษีก็ได้เดินทางมาเพื่ออวยพร แต่ระหว่างทางได้พบกับพระยมราช พระยมราชจึงได้แจ้งว่า พระสัตยวานนั้นเหลืออีกเพียง 1 ปี เมื่อสาวิตรีรู้ข่าวจากพระฤษีนั้น นางก็มั่นคงในคำพูดจึงได้เข้าพิธีสมรสกับสัตตีอาวาร โดยที่ไม่ฟังคำค้านจากบิดามารดาเลย นางได้เข้าไปภาวนาต่อพระแม่มาเตสวตี พระแม่มาเตสวตีจึงได้แนะนำนางให้ถือศีลอดอาหารอย่างเคร่งครัดในสามวันก่อน ครบกำหนดและในวันที่สี่ให้ภาวนา เพื่อขอพรพระเจ้าให้กับพระสัตยวาน นางจึงทำตามจนครบกำหนดโดยที่หน้าที่ปรนิบัตพ่อแม่และสามีไม่บกพร่องเลย และในสี่วันสุดท้ายนั้น นางได้เริ่มถือศีลอาคานโซบาวาตี และในขณะที่นางถือศีลอยู่นั้น ยมราชได้มาก่อกวนนางทุกทางแต่ไม่สำเร็จ และในวันที่สี่นั้น นั้นนางไม่ยอมทานอาหารเลย จนกระทั่งวันหนึ่งพระสัตยวานจะเสด็จป่าเพื่อหาอาหาร นางสาวิตรีจึงขอตามพระสวามีไปด้วย ขณะที่เก็บผลไม้อยู่นั้น ก็ถึงกาลที่พระสัตยวานจะสิ้นพระชนม์ เมื่อพระสัตยวานสิ้นพระชนม์ นางสาวิตรีก็เห็นพระยมซึ่งมารับวิญญาณของพระสัตยวาน

นาง จึงได้ออกติดตามไปจนถึงแม่น้ำเวตาล ยมราชได้บอกว่า นางข้ามไม่ได้เพราะภพหน้าคือภพของคนตาย สาวิตรีจึงขอพรจากพระแม่กามเทนุให้พาข้ามไป ยมราช เห็นความตั้งใจของนางจึงได้กล่าวเตือนอีกครั้งเพราะข้างหน้าคือเทวโลก ที่ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ ยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี นางจึงขอให้ดวงตาของพ่อและแม่สามีมองเห็นได้อีกครั้ง ยมราชจึงได้ให้พรดังนั้นแล้วเดินทางต่อไป
             นางสาวิตรีก็ยังดั้งด้นตามยมราชไปโดยขอพรกับพระแม่กาลี พระแม่กาลีจึงได้ให้ตรีศูลพาข้ามไป ยมราช เห็นดังนั้น จึงได้บอกกับสาวิตรีว่าข้างหน้าเป็นโลกสวรรค์ซึ่งจะไปได้เฉพาะเทวดาเท่านั้น ให้นางสาวิตรีกลับไปแต่สาวิตรีไม่ยอม ยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี สาวิตรีจึงขอบันลังค์ของพ่อแม่สามีคืน ยมราชให้พรแล้วเดินทางต่อ
นางสาวิตรียังดั้งด้นติดตามยมราชต่อไป นางขอพรกับพระแม่ลักษมี พระแม่ลักษมีจึงได้ให้ดอกบัวพาสาวิตรีข้ามโลกสวรรค์ไป และ เมื่อยมราชเห็นดังนั้นจึงได้บอกสาวิตรีว่า ข้างหน้าเป็นป่าสวรรค์และเป็นวรรณะโลกที่ผู้คนบูชาที่ซึ่งแม้แต่เทวดาถ้าไม่ ได้รับอนุญาตก็เข้าไปไม่ได้ ให้นางสาวิตรีกลับไป แต่สาวิตรีไม่ยอมยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี นางจึงขอให้พ่อและแม่ที่ไม่มีลูกชายเลยของนางมีลูก 100 คนเพื่อความรุ่งเรือง ยมราชให้พรแล้วเดินทางต่อไป
นางสาวิตรีเดินทางตามยมราชต่อ โดยขอพรกับพระแม่สุรัสวดี พระแม่สุรัสวตีจึงได้มองหงส์ของพระแม่ให้พาสาวิตรีไป เมื่อ ถึงยมโลก ยมราชได้บอกกับสาวิตรีว่า ที่นี่คือยมโลก ไม่มีใครเข้าไปได้นอกจากยมราชจะอนุญาต แต่สาวิตรีไม่ยอมฟังได้เดินตามยมราชเข้าไป ยมราชจึงหันมาบอกกับสาวิตรีว่าลูกรักอย่าได้ดื้อไปเลยกลับไปเถอะ สาวิตรีบอกว่าเมื่อท่านเรียกข้าว่าลูกท่านก็เหมือนพ่อ แล้วพ่อจะไม่ให้ลูกเข้าบ้านหรือ ยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี แล้วกลับไป สาวิตรีจึงขอมีบุตรถึง 100 คน ยมราชได้ให้พรดังที่ขอ แต่สาวิตรีไม่ยอมกลับ ยมราชจึงหันมาดุสาวิตรี นางสาวิตรีเลยได้กล่าวว่าหากท่านให้พรข้ามีลูกถึง100คน แต่หากข้าปราศจากสามีแล้ว แล้วข้าจะตั้งท้องได้อย่างไร สุดท้ายยมราชเลยยอมคืนวิญญานพระยาสัตยวานคืนให้ และได้ครองคู่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

บุษบา

 

                นาง บุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา
บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น
นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
                 นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
ลักษณะนิสัย
1.บุษบา เป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล
2. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
3. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า
"อันนางจินตะหราวาตี ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา
หากเขาก่อก่อนอ่อนมา ใจพี่พาลาก็งวยงง……"
จาก ที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า
" จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา
เขาจะเชิดชื่อฤาชา ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย
อันความอัปยศอดสู จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย
ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป "
และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า
"พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า
ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก
เป็นไฉนจึงยกน้องให้ แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์
กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ
สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา"
4. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน
5.มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า
"ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
แม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา"
6.ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี
7.เมื่อเป็นชาย คือมิสาอุณากรรณก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน
8.มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน
9.มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง
10.ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า
"แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา
เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล"
และ นางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง


สุวรรณมาลี

 

               นางสุวรรณมาลี เป็นธิดาของท้าวสิลราช กษัตริย์เมืองผลึก กับนางมณฑา นางมีรูปโฉมงดงามมาก แต่มีนิสัยขี้หึง ได้หมั้นหมายไว้กับอุ ศเรนโอรสกษัตริย์เมืองลังกา นางลงเรือไปเที่ยวทะเลกับท้าวสิลราชแล้วได้ไปพบกับพระอภัยมณีที่เกาะแก้ว พิสดาร สินสมุทรบุตรของพระอภัยมณีพยายามเป็นสื่อให้นางรักใคร่กับพระอภัยมณี ครั้นได้กลับไปถึงเมืองผลึกนางก็ได้เข้าพิธีแต่งงานกับพระอภัยมณี ทั้งสองมีธิดาฝาแฝดชื่อสร้อยสุวรรณและจันทร์สุดา ต่อมาพระอภัยมณีตัดสินใจบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญศีลอยู่ที่เขาสิงคุตร์ นางสุวรรณมาลีก็บวชตามไปปรนนิบัติด้วยความจงรักภักดี นางสุวรรณมาลีนั้นกล่าวได้ว่านางเป็นผู้หญิงที่มีรูปโฉมงดงาม เห็นได้จากกลอน บทที่ว่า
                                           พระเลื่อนองค์ลงจากบัลลังก์อาสน์ หวังสวาทว่าจะโลมนางโฉมฉาย
ครั้นเข้าชิดคิดได้ไม่ใกล้กลาย แต่เดินชายชมนางไม่วางตา
พระโอษฐ์เอี่ยมเทียมสีลิ้นจี่จิ้ม เป็นลักยิ้มแย้มหมายทั้งซ้ายขวา
ขนงเนตรเกศกรกัลยา ดังเลขาผุดผ่องละอองนวล
นอก จากนางจะเป็นหญิงที่มีความงามแล้ว นางยังมีความสามารถมีสติปัญญาเทียบเท่าผู้ชาย มีความรู้ในการรบ รู้ตำราพิชัยสงคราม และยังมีความเฉลียวฉลาดสามารถเอาตัวรอดได้ ส่วนด้านความรู้ด้านการรบนางก็มีตามวิสัยลูกกษัตริย์ ตามที่จะเห็นได้จากตอนที่นางช่วยสินสมุทรบกับอุศเรน
ลักษณะนิสัย
1.นางเป็นผู้มีความกตัญญู หลังจากเรือแตกนางก็เฝ้าเป็นห่วงพระบิดาของตนเสมอ
2. นางเป็นคนที่มีจิตใจเมตตา นางรักสินสมุทรเหมือนลูกของตัวเอง โดยที่นางไม่ความรังเกียจเลยแม้แต่น้อย ความรักที่นางมีให้สินสมุทรนั้นเหมือนว่านางเป็นแม่แท้ๆของสินสมุทรเลยที เดียว
3.นาง มีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในเรื่องการปกครองบ้านเมือง หรือ บัญชาการทัพ สุวรรณมาลีก็ได้แสดงความเด็ดเดี่ยวให้ประจักษ์ นางสามารถเป็นแม่ทัพบัญชาการรบได้โดยไม่ต้องพึ่งพาพระอภัยมณีเลย ในครั้งที่อุศเรนยกมาตีเมืองผลึก พระอภัยมณีเป็นเพียงทัพหนุนคอยโจมตีซ้ำเมื่อทัพลังกาแตก ส่วนสุวรรณมาลีเป็นทัพที่ต้องเข้าสู้รบอย่างเต็มที่ และในการรบครั้งนี้ นางเองเป็นฝ่ายอาสาในขณะที่พระอภัยมณีปรึกษานางวาลีว่า จะรบหรือจะหนี สุวรรณมาลีกลับอาสาเข้าต่อสู้ด้วยโดยไม่ลังเลใจ แสดงว่า ไม่เพียงแต่รู้วิชารบ หากยังมีใจเป็นนักรบ คือมั่นคงพูดคำไหนเป็นคำนั้น ไม่โลเล หรือตัดสินใจไม่เด็ดขาดเหมือนพระอภัยมณี
                    จาก ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่านางสุวรรณมาลี เป็นหญิงที่เพียบพร้อมไปทั้ง รูปโฉม สติปัญญา และชาติตระกูล อีกทั้งยังเป็นหญิงที่มีจิตใจเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นลักษณะที่โดดเด่นของนางในวรรณคดีตัวนี้ที่เห็นได้ชัดเจนที เดียว


นางละเวงวัณฬา

 

ประวัติ

       นาง ละเวงวัณฬาเป็นหญิงฝรั่ง ธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี เมื่อนางอายุได้ ๑๖ ปีนางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายไปในสงครามสู้รบระหว่างเมืองลังกาและเมือง ผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณี แม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงได้
ลักษณะนิสัย
        บทบาทของนางละเวงในเรื่องนั้นค่อนข้างแปลกกว่าตัวผู้หญิงในเรื่องอื่นๆ คือมีลักษณะเป็นทั้งนางเอกและผู้ร้ายก้ำกึ่งกัน
ใน ตอนต้นนางทำศึกโดยการใช้เล่ห์กลอุบายตามคำแนะนำของบาทหลวง ทั้งนี้ด้วยคามแค้นที่พ่อและพี่ชายถูกฆ่าตายด้วยฝีมือชาวเมืองผลึก แม้ว่าความพยายามของนางในตอนต้นๆจะไม่ได้ผลเต็มที่ นางก็ไม่ละความพยายาม จนกระทั่งพระอภัยมณียกทัพข้ามไปราวีกรุงลังกาเสียเอง ทั้งๆที่มีความเกลียด ความโกรธ ความอาฆาตแค้นอยู่เต็มอก แต่พอนางได้พบหน้า และต่อปากต่อคำกับพระอภัยมณีศัตรูคนสำคัญเพียงครั้งเดียว นางก็ชักจะเรรวนไปข้างเสน่หาพระอภัยมณีเสียแล้ว แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าเมืองลังกา นางละเวงจึงยอมตัดใจไม่เกี่ยวข้องกับพระอภัยมณีเป็นอันขาด แต่จะยกกองทัพกลับมาต่อสู้ให้ชนะให้จงได้ การที่จะทำศึกกับคนที่ตนรักนั้นไม่ใช่ของง่าย นางละเวงเองก็ทรมานใจ
“เมื่อต่างชาติศาสนาเป็นข้าศึก สุดจะนึกร่วมเรียงเคียงเขนย
ขอสู้ตายชายอื่นไม่ชื่นเชย จนล่วงเลยสู่สวรรค์ครรไล”

พระเพื่อนพระแพง

 


                    ตำนาน รักพระลอ ความว่า เดิมเจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือพระลอเป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดี พระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อนพระแพงเกิดความรักและ ปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ชื่อนางรื่นนางโรย ได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงให้พระลอฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงไหลคิดเสด็จไปหานาง
                    ฝ่าย พระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบ จึงหาหมอแก้เสน่ห์ได้ แต่ปู่เจ้า สมิงพรายได้เสกสลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ถึงกับหลงไหลธิดาทั้งสองมากขึ้น จึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้วนายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลงได้เสี่ยงทายกับแม่น้ำ แม่น้ำกลับวนและเป็นสีเลือด ซึ่งทายว่าไม่ดี แต่พระลอก็ยังติดตามไก่ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมนต์ล่อพระลอให้หลง เข้าไปในสวนหลวง แล้วแอบได้พระธิดาทั้งสองเป็นชายา นายแก้วนายขวัญก็ได้กับนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยง
                    เมื่อ พระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อนพระแพงทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรงพิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ้ว แต่พระเจ้าย่า(ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อนพระแพงโกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครสวามีในที่รบ พระเจ้าย่าถือว่าพระลอเป็นศัตรู จึงสั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน และสั่งประหารด้วยธนู ทั้งพระลอ พระเพื่อน พระแพง และนายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ร่วมกันต่อสู่ทหารของพระเจ้าย่า อย่างทรหด จนสุดท้ายถูกธนูตายในลักษณะพิงกัน ตายด้วยความรักทั้ง 3 องค์
                    ท้าว พิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหาร ฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ทรงกริ้วและสั่งประหารพระเจ้าย่า(เพราะมิใช่ชนนี)เสีย แล้วโปรดให้จัดการพระศพพระลอกับ พระธิดาร่วมกันอย่างสมเกียรติ และส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมืองสรองกับเมืองแมนสรวงกลับมีสัมพันธไมตรีกันต่อมา
                 คติและแนวคิด
ตำนาน รักพระลอเป็นนิยายพื้นบ้านที่ให้รสวรรณคดีทุกรส ได้แก่ ความรัก ความโศก กล้าหาญ และเสียสละ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงผลเสียของความแค้น ความอาฆาต พยาบาท ตลอดจนอนุภาพแห่งความรัก ที่เป็นอมตะรักของพระลอ พระเพื่อนพระแพง

นางมณีรัตนา(แก้วหน้าม้า)

 

             นาง แก้วหน้าม้าเป็นธิดาสามัญชนชาวเมืองมิถิลา เหตุที่นางมีชื่อเช่นนี้เพราะก่อนตั้งครรภ์ผู้เป็นมารดาได้ฝันว่าเทวดานำ แก้วมาให้ พอให้กำเนิดบุตรสาวเลยตั้งชื่อว่า "แก้ว" แต่เนื่องจากใบหน้าเหมือนม้า ชาวบ้านเรียกว่า นางแก้วหน้าม้า
นาง แก้วนั้นวัยไล่เลี่ยกับพระปิ่นทอง พระโอรสเมืองมิถิลา และมีญาณวิเศษสามารถล่วงรู้ลมฝน จึงเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้าน เมื่อเก็บว่าวจุฬาได้ นางแก้วดีใจจะเก็บไว้เล่นเอง เมื่อพระปิ่นตามมาขอว่าวคืน นางแก้วขอสัญญากับพระโอรสว่าต้องมารับนางเข้าวังไปเป็นมเหสี พระปิ่นรับปากเพียงเพราะหวังอยากได้ว่าวคืน รออยู่หลายวันไม่เห็นพระปิ่นทองมารับ นางแก้วจึงเล่าเรื่องให้พ่อกับแม่ฟัง และขอให้ไปทวงสัญญา เมื่อพ่อแม่ไปทวงสัญญากับพระปิ่น ท้าวภูวดลกริ้วตรัสให้นำตัวไปประหาร แต่พระนางนันทาได้ทัดทานพร้อมเรียกพระโอรสมาสอบถาม พระปิ่นทองยอมรับว่าสัญญาจะให้มาอยู่กับสุนัข เ มื่อพระปิ่นทองสัญญาแล้ว พระนางนันทาสั่งให้ไปรับตัวนางแก้วมาอยู่ในวัง ครั้งไม่มีวอทองมารับสมกับตำแหน่งมเหสี นางแก้วก็ไม่ยอมไป จนในที่สุดนางแก้วได้นั่งในวอทอง พร้อมกับแต่งตัวสวยพริ้ง พอมาถึงวังหลวง ท้าวภูวดลกับพระปิ่นทองเห็นนางแก้วรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด กริยามารยาทกระโดกกระเดกก็ทนไม่ได้ คิดหาทางกำจัดนางแก้ว แต่พระนางนันทานึกเอ็นดู
                นาง แก้วเข้าวังมาไม่นาน ท้าวภูวดลกับพระปิ่นทองหาทางกำจัดนางแก้ว โดยให้นางแก้วไปยกเขาพระสุเมรุมาไว้ในเมืองภายใน 7 วัน หากทำไม่สำเร็จจะต้องได้รับโทษประหาร แต่ถ้าทำได้จะจัดพิธีอภิเษกสมรสกับพระปิ่นทอง นางแก้วออกไปตามป่า เสี่ยงสัตย์อธิษฐานกับเหล่าทวยเทพว่าหากตนเป็นเนื้อคู่ของพระปิ่นทอง ขอให้พบเขาพระสุเมรุ เดินทางต่อไปอีกสามวัน พบพระฤาษีรีบเข้าไปกราบและเล่าเรื่องราวทั้งหมด พระฤาษีมีใจเมตตาจึงช่วยถอดหน้าม้าออกให้ นางแก้วกลายเป็นหญิงที่งดงามโสภา แล้วเสกหนังสือเป็นเรือเหาะให้ลำหนึ่งพร้อมมอบอีโต้ไว้เป็นอาวุธ นางแก้วจึงสามารถไปยกเขาพระสุเมรุมาถวายท้าวภูวดลได้สำเร็จ
                  ท้าว ภูวดลพยายามหาหนทางที่จะเลี่ยงคำสัญญาเลยมอบให้พระปิ่นทองเดินทางไปอภิเษก กับเจ้าหญิงทัศมาลี ราชธิดาของท้าวพรหมทัต ก่อนเดินทางไป พระปิ่นทองกล่าวว่า ถ้ากลับมานางยังไม่มีลูกจะถูกประหาร นางแก้วนั่งเรือเหาะตามพระปิ่นทองไปแล้วถอดหน้าม้าออก ไปขออาศัยอยู่กับสองตายายในป่า เมื่อพระปิ่นทองผ่านมา นางแก้วก็ไปอาบน้ำที่ท่า พระปิ่นทองเห็นเข้าเกิดหลงรัก และไปเกี้ยวพาราณสี จนได้นางแก้วเป็นเมีย ต่อมานางแก้วตั้งครรภ์ พระปิ่นทองต้องการกลับกรุงมิถิลาและได้มอบแหวนให้นางแก้วเพื่อยืนยันว่าเด็ก ในท้องนางแก้วเป็นลูกของพระปิ่นทองจริง
                     ขณะ เดินทางกลับกรุงมิถิลา ระหว่างอยู่ในทะเลย เรือสำเภาของพระปิ่นทองถูกมรสุมพัดเข้าไปในถิ่นยักษ์ เมื่อนางแก้วคลอดบุตรชายชื่อว่า "ปิ่นแก้ว" ก็คิดจะพาลูกกลับไปหาพระปิ่นทอง โดยได้แวะไปลาพระฤาษี พระฤาษีบอกนางแก้วว่า พระปิ่นทองอยู่ในอันตราย นางแก้วฝากลูกไว้กับพระฤาษีแล้วแปลงร่างเป็นผู้ชายขึ้นเรือเหาะไปรบกับท้าว พาลราช เจ้าเมืองยักษ์ จนได้รับชัยชนะ นางแก้วในร่างชายหนุ่ม จึงเชิญพระปิ่นทองให้ครองเมืองยักษ์ และตนขอเพียงนางสร้อยสุวรรณ ธิดายักษ์ที่อายุเพียง 15 พรรษา และนางจันทรา ธิดายักษ์องค์เล็กวัย 14 พรรษาไปเป็นชายา นางแก้วพาสองธิดายักษ์ไปหาพระฤาษีแล้วเล่าเรื่องราวให้ฟังพร้อมถอดรูปให้ดู สองธิดายักษ์รับปากว่าจะเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ นางแก้วจึงพาสองธิดายักษ์มามอบให้พระปิ่นทอง ต่อมาพระปิ่นทองเดินทางกลับเมืองมิถิลาพร้อมกับสองธิดายักษ์
                   นาง แก้วได้พาลูกกลับมาเฝ้า พระปิ่นทอง ท้าวภูวดล พระนางนันทา นางสร้อยสุวรรณ และนางจันทร พร้อมกับกราบทูลว่าพระปิ่นแก้วเป็นพระโอรสของพระปิ่นทองกับนางแก้ว พระปิ่นทงกับท้าวภูวดลไม่เชื่อ นางแก้วเลยมอบแหวนที่พระปิ่นทองเคยมอบให้ในร่างนางมณีรัตนา นางสร้อยสุวรรณและนางจันทรช่วยกันเลี้ยงดูพระปิ่นแก้ว แถมยกมือไหว้นางแก้ว พระปิ่นทองสงสัยว่าไปมีลูกกับนางแก้วได้ตั้งแต่เมื่อไร่
                   เจ้า หญิงทัศนมาลีคิดถึงพระปิ่นทองก็เดินทางมาหาพระปิ่นทอง เมื่อเดินทางมาพบพระปิ่นทองแล้วเกิดการหึงหวงกับนางสร้อยสุวรรณและนาง จันทรสองธิดายักษ์ จนมีเรื่องทะเลาะวิวาท โดยนางแก้วเข้าช่วยเหลือ นางทัศนมาลีเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงหนีกลับเมือง ต่อมาเจ้าหญิงทัศนมาลีได้ให้กำเนิดพระโอรส ตั้งชื่อว่า "เจ้าชายปิ่นศิลปไชย"
ท้าว กายมาต ผู้ครองนครไกรจักร เป็นญาติของท้าวพาลราชซึ่งถูกแก้วสังหาร และนางสร้อยสุวรรณ กับ นางจันทร กลายเป็นชายาของพระปิ่นทอง ก็เกิดแค้นใจ ยกทัพมาที่เมืองมิถิลา พระปิ่นทองไม่ชำนาญการรบ นางสร้อยสุวรรณและนางจันทรแนะว่าให้ไปขอความช่วยเหลือจากนางแก้วหน้าม้า พร้อมบอกใบ้ให้รู้ความจริง
                     พระ ปิ่นทองรีบไปง้อขอคืนดีกับนางแก้ว นางแก้วยอมช่วยเพราะเห็นแก่พระนางนันทา โดยแปลงร่างเป็นชายหนุ่มถืออีโต้ไปเฝ้าพระปิ่นทองโดยบอกว่าพี่แก้วให้มาช่วย นางแก้วไม่สามารถทำอะไรท้าวประกายมาตได้ เพราะท้าวประกายมาตมีฤทธิ์รักษาแผลได้ นางแก้วจึงขี่เรือเหาะข้ามศีรษะท้าวประกายมาต ทำให้มนต์เสื่อม จึงสามารถจัดการได้ พอชนะศึกแก้วในร่างของชายหนุ่มขอลากลับทันที พระปิ่นทองจึงมั่นใจว่าต้องเป็นนางแก้วแน่นอน จึงตามไปหาที่ห้องกล่าวง้องอน นางแก้วหน้าม้าก็ทำเป็นเล่นตัว พระปิ่นทองแกล้งทำทีเชือดคอตาย นางแก้วจึงยอมใจอ่อนถอดหน้าม้าออก เมื่อความทราบถึงท้าวภูวดลและนางนันทา ก็ดีพระทัย จึงจัดพิธีอภิเษกสมรสให้นางแก้วเป็นมเหสีของปิ่นทองอย่างเอิกเกริก พร้อมทั้งกับนางแก้วได้ชื่อใหม่ว่า "นางมณีรัตนา" นางแก้วจึงให้คนไปรับพ่อกับแม่มาลี้ยงดูอย่างมีความสุขในวัง ต่อมาไม่นานนางแก้วก็ตั้งครรภ์อีกครั้ง แล้วได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

นางวันทอง

 

                 นาง วันทองเป็นธิดาคนเดียวของพันศรโยธา และนางศรีประจัน ครอบครัวของนางวันทองเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีฐานะดีพอสมควร นางจึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
นาง วันทองมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชนอ้อนแอ้น กิริยามารยาทแช่มช้อย ซึ่งความสวยของนางนั้นปรากฏให้เห็นชัดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และยังมีผมสวย ดังที่กวีพรรณนาไว้ว่า
"ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแบน อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
ผมสลวยสวยขำงามเงา ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย"
           เมื่อ นางเติบโตขึ้นก็ยิ่งมีความสวยงามยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ขุนแผนและขุนช้างมีจิตใจผูกพันรักใคร่ ส่งผลให้เกิดเรื่องราววุ่นวายตามมามากมาย
ลักษณะนิสัย
เนื่อง จากนางวันทองมีโอกาสใกล้ชิดกับนางศรีประจัน นางจึงได้รับลักษณะนิสัยบางอย่างของนางศรีประจันมา เช่น เป็นคนเจ้าคารมโวหาร ใช้ถ้อยคำประชดประชันเสียดสี ปากกล้า โดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์โมโห นางจะหลุดถ้อยคำหยาบ ๆ ออกมาได้มากมาย

               นาง วันทองมีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิงชาวบ้าน เมื่อโตเป็นสาวก็เริ่มคิดเรื่องคู่ครอง อันเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในกรอบของประเพณี จึงทำให้ดูเหมือนว่านางวันทองไม่รักนวลสงวนตัว

              อย่าง ไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับรู้ถึงความดีของผู้อื่นที่ปฏิบัติต่อนาง ดังจะเห็นได้จากถึงแม้นางจะไม่ได้รักขุนช้างแต่ด้วยความดีของขุนช้างและความ ผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุข และความรู้สึกของขุนช้างไม่น้อย หรือ อารมณ์ที่ละเอียดอ่อนในการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี เช่น ความประณีตในการปักม่าน นอกจากนี้นางวันทองยังเป็นคนกล้าที่จะยอมรับชะตากรรมของตัวเอง มีน้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไม่เคียดแค้น